ยินดีตอนรับเข้าสู่บล๊อกเกอร์ของ น.ส สุนารี ทองอ่อน คบ.4 คณิตศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คำอธิบายรายวิชา


       ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ค ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้
วัตถุประสงค์ในรายวิชา




       เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้

1.  อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
2.  อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
3.  ยกตัวอย่างเทคโนดลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
4.  อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
5.  อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
6.  บอกความหมายและองค์ประสกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้
7.  อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
8.  บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
9.  บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
10.  บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
11.  อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
12.  อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
13.  ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
14.  สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
15.  นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้



    เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 1     ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 2    ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หน่วยการเรียนที่ 3    คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 4    ซอฟต์แวร์
หน่วยการเรียนที่5     ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 6    อินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 7    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่8     การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน


              บูรณาการกับความพอเพียง
   


ในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการศึกษานั้น จะต้องมุ่งพัฒนาที่ตัวครูก่อนเป็นอันดับแรก เพราะครูถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้และปลูกฝังสิ่งต่างๆให้แก่เด็ก ดังนั้น จึงควรส่งเสริมครูให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ก่อน เพราะเมื่อครูเข้าใจครูก็จะได้เป็นแบบอย่างทีดีให้แก่เด็กได้ ครูจะสอนให้เด็กรู้จักพอ ครูจะต้องรู้จักพอก่อนโดยอยู่อย่างพอเพียงและเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีสติในการเลือกรับข้อมูลต่างๆที่เข้ามา รู้จักเลือกรับและรู้จักต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ หมั่นศึกษาเพิ่มพูนความรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่ก้าวกระโดด ในการเลือกรับข้อมูลนั้นต้องรู้จักพิจารณารับอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รู้จักแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ประเมินความรู้และสถานการณ์อยู่ตลอดเวลาจะได้รู้จักและเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสภาพและผลจากการเปลี่ยนแปลงในมติต่างๆได้อย่างรอบคอบและระมัดระวัง



 
 
      ความซื่อสัตย์

เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถ(competency)อย่างหนึ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของบุคคล ช่วยให้เกิดความไว้วางใจ น่าเชื่อถือ และเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้และดำเนินงานของบุคคลหรือองค์กร

การจัดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูในภาคเรียนที่ 1/2556 มุ่งเน้นในการใช้ความซื่อสัตย์เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อกำกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในแบบรายบุคคลและแบบทีม โดยมีเกณฑ์เบื้องต้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติ 5 ระดับ ดังนี้

ระดับความซื่อสัตย์

1. ระดับตำกว่ามาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก

.ให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากจวามจริงเป็นเหตุให้เกิดปัญหาหรือความาเข้าใจผิด

. หลีกเลี่ยงการตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบ

. ปฏิเสธ/ไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

. ละเมิดระเบียบหรือกฎเกณฑ์อยู่เสมอ

2. ระดับตำกว่ามาตรฐาน

. ดูแลและรักษาทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นบางครั้ง

. ตักเตือนหรือแจ้งผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎเท่าที่จำเป็น

. ไม่ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของส่วนร่วมเป็นบางครั้ง

3. ระดับมาตรฐานที่กำหนด

. รับฟังและไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาเปิดเผย

. ดูและและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของส่วนรวมอยู่เสมอ

. ไม่นำทรัพย์สินของส่วนรวมมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว

. ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎอยู่เสมอ

4. สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด

. ไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่อาจสร้างความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดขึ้น

. ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับกลุ่มคน เวลา และสถานการณ์

. ตักเตอืนสมาชิกในทีมเมื่อทำผิดระเบียบหรือกฎ

. ยอมรับและหาทางแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง

5. สูงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด

. แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎ

. ปลุกจิตสำนึกให้สมาชิกทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมีจรรยาบรรณและคุณธรรมในการ ทำงาน

. นำทรัพย์สินของตนเองมาใช้เพื่อใกรทำงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด


...ประโยชน์และคุณค่าของความซื่อสัตย์...

1. ส่งเสริมให้เกิดความเมตตาธรรม

2. ปราศจากความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน

3. เป็นพื้นฐานในการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม

4. ส่งเสริมความรักและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน

5. เป็นพฤติกรรมที่ปราศจากกความหวาดระแวง

6. เป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
7. นำไปสู่ความรักและเคารพในเกียรติของตนเองและบุคคลอื่น

8. เป็นการเคารพสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือความรู้สึกคนอื่น

9. ช่วยรักษาปกป้องผลประโยชน์ของตนเองหรือองค์กรอย่างตรงไปตรงมา

10. ช่วยสร้างความอบอุ่นแก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม

11. ช่วยส่งเสริมความเป็นระเบียบและมีวินัยในตนเองและสังคม

12. ช่วยสร้างความจริงใจและไว้วางใจซึ่งกันและกันได้